วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 6, 15/09/2558 ***ขาดเรียน***

ขาดเรียน คัดลอกมาจาก นางสาวสุทธินี โนนริบูรณ์

**The knowledge gained**
เนื้อหา:
การทำงานของสมอง

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 5, 08/09/2558

Recorded Diary 5, 08/09/2558

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

ทบทวนความรู้ที่ได้จากใบความรู้ในสัปดาห์ที่แล้ว ที่ทำงานเป็๋นคู่ เช่น เรื่อง สัตว์ (animal) , น้ำ (water) ขั้นอนุรักษ์ คือ ขั้นที่เด็กตอบตามที่เห็น

อาจารย์แจกกระดาษให้ 1 แผ่น
   ให้ออกแบบสื่อที่ใช้สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มา 1 สื่อ


เกี่ยวข้องกับวิทยาศาตร์อย่างไร?  คือ การกระทำต่อวัตถุ วัตุเจอกับอากาศ แล้วทำให้เกิดเสียง

สรุป
           การสอนวิทยาศาตร์สำหรับเด็ก ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยการหาความรู้ โดยกำหนดหน่วยที่เราจะสอนที่สัมพันธ์ดกี่ยวกับกายภาพ เรื่่อง แสง เงา อากาศ สี ลม เลือกมาทำของเล่นโดยผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์


การนำไปใช้ (Apply)
- ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยผ่านสื่อการเล่นคือการผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ควรกำหนดหน่วยนั่นๆและควรมีความรู้ที่เพียงพอ ควรให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้เด้กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ทักษะ (Skill)
- อาจารย์ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริงและช่วยกันแสดงความคิดเห็นในสื่อของเล่นว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร?

วิธีการสอน (How to teach)
- ให้นักศึกษาออกแบบสื่อโดยอย่างอิสระ
- ให้นักศึกษาร่วมกันอธิบายความเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิทยาศาตร์
- อาจารย์คอยให้ความรู้เพิ่มเติม

ประเมินสภาพห้องเรียน (Classroom)
- ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย มีอุปกรณ์ครบถ้วน

ประเมินอาจารย์ (Teacher)
- อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มีการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและใด้แสดงความสามารถออกมา และอาจารย์ยังคอยช่วยสอนและให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่ทำออกมาแต่ละสื่อ


ประเมินเพื่อน (Classmates)
- เพื่อนมาเรียนตรงต่อเวลา และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในระหว่างการเรียน

ประเมินตนเอง (Self)
- แต่งกายถูกระเบียบ มาเรียนมาตรงเวลา ต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากกว่านี้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ก็เช่นกัน




วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 4 ,01/09/2015

Recorded  Diary 4 ,01/09/2015

งดการเรียนการสอน เนื่องจาก คณะศึกษาศาสตร์จัดโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ ในหัวข้อเรื่อง "ทักษะการจัดการเรียรรู้ในศตวรรษที่ 21"  บรรยายโดย อ.ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล




ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 
21 st Century Student Outcomes and Support Systems



คุณลักษณะของบัณทิตในศตวรรษที่ 21 


ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ 3R x 7C

3 R คือ 
- Reading (อ่านออก)
- (W)Riting (เขียนได้)
- (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)

7 C คือ
- Critical Thinking and Problem Solving 
   (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา)
- Creativity and Innovation
  (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
- Cross - cultural Understanding
  (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัตธนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
- Collaboration , Teamwork , and Leadership
  (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานกันเป็นทีมและภาวะผู้นำ)
- Communications , Information and Media Literacy
  (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
- Computing and ICT Literacy
  (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- Career and Learning Skills
  (ทักษะอาชีพ และ ทักษะการเรียนรู้)

ห้องเรียนสำหรับการศึกษาศตวรรษที่ 21

    Smart Classroom



 Smart Learning
 Smart Students

สรุป    การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม "สาระวิชา" ไปสู่การเรียนรู้ "ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21" (21 st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และ อำนวยความสะดวก (Facilitator)ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียนซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้ คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง 


กิจกรรมช่วงบ่าย 
ชมการแสดงและการจัดนิทรรศการของแต่ละเอก










ทักษะ (Skill)
- การบรรยาย โดย ใช้ Power point ประกอบคำอธิบายและเนื้อหาเพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น

การนำไปใช้ (Apply)
- รู้เท่าทันการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ และนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเท่าทันมากยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน (Classmates)
- เพื่อนเข้าร่วมและตั้งใจรับฟังคำบรรยายครบทุกคนและจนจบการบรรยาย

ประเมินตนเอง (Self)
- แต่งกายถูกระเบียบ และ มีความตั้งใจในการรับฟังคำบรรยาย คิดตาม และสามารถนำความรู้มาลองใช้ในการค้นหาข้อมูล ในการเรียนรู้สิ่งต่างที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ในยุตศตวรรษที่ 21