วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 16, 24/11/2015

Recorded Diary 16, 24/11/2015


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


กิจกรรม (Activity)

นำเสนอบทความ

นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
 2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามที่กำหนดให้ 
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
 4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
 6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 



นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์   เรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

          วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร       การแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้


นางสาว รัชดา   เทพรียน  เรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
     หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย      การเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหาโดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู  สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546   เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ




นำเสนอวิจัย

นางสาว จงรักษ์  หลาวเหล็ก  เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

       การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวบยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัยการสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์

ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ขอบเขตของการวิจัย    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 
      2.1 การจัดหมด 
      2.2 การหาความสัมพันธ์

     จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้

1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ



นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เรื่อง ชื่อการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย

      โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สมมติฐาน 
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

วิธีดำเนินการวิจัย

1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.เก็บรวบรวมข้อมูล
4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่องเช่น รถ ผักผลไม้ อาหา
2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัยผลการวิจัย    
      
จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัย

นำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8  เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์

เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน
 ครูร้องเพลง "ไก่ย่างถูกเผา" เพื่อนำเข้ากิจกรรม ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูนำมา 2 ใบ แล้วตั้งคำถามว่าถ้าคุณครูโยนจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อคุณครูโยน ปรากฎว่าไข่ร้าว เด็กจึงบอกว่า ที่ร้าวเพราะไข่นั้นเป็นไข่ต้ม
- น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่นจากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษแล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร



การนำไปใช้ (Apply)
- บทความ โทรทัศน์ครู วิจัย นำเป็นแนวทางการเรียนการสอนในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

ทักษะ (Skill)
- การคิด
-การวิเคาระห์
-การสังเคราะห์
-การรวบรวมข้อมูล
-การแสดงความคิดเห็น

การประเมินห้องเรียน(Classroom)
-ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย พร้อมต่อการเรียน

การประเมินเพื่อน(Classmate)
-เพื่อนแต่งกายสะอาดเรียบร้อยและมีความพร้อมในการเรียน

การประเมินอาจารย์(Teacher)
-อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและมีความพร้อมในการให้การเรียนการสอน เปิกโอกาสให้นักศึกษาเคลีบฃยงานและตั้งใจในการสอบ

การประเมินตนเอง(Self)
-มาเรียนทันเวลาและมีความพร้อมในการนำเสนอโทรทัศน์ครูที่ค้างไว้และตั้งใจเรียนและพร้อมเคลียงานให้เสร็จ

Recorded Diary 15,21/11/2015 มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( National Science and Technology Fair )

Recorded Diary 15,21/11/2015



ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


 มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  ( National Science and Technology Fair )










พัฒนาการเด็ก” กับ การเล่น

           มนุษย์เรารู้จักการเล่นตั้งแต่แบเบาะ การเล่นของทารกก็คือการเรียนรู้เพื่อที่จะปรับตัวให้มีชีวิตรอด ในแวดวงจิตวิทยาวัยทารกจึงมีคำกล่าวว่า การเล่นคือการเรียน ในการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอดก็คือการพัฒนาส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการมองดู การแก่วงไกวของของเล่น ซึ่งถือเป็นการฝึกกล้ามเนื้อตา หรือการขยับนิ้วและฝ่ามือประคองเต้านมขณะดูดนม ก็เป็นการเรียนรู้ที่จะบังคับกล้ามเนื้อนิ้วมือและมือ ซึ่งมีนัยยะแสดงถึงสมองของทารกกำลังพัฒนา การเล่นของมนุษย์จึงเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางร่างกายตามวัยซึ่งสาระจาก การเล่นอย่างหนึ่งก็คือ การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางร่างกายเมื่อเด็กถึงวัยที่วิ่งได้ ผู้ใหญ่จึงถึงกับเหนื่อยอ่อนกับการวิ่งไล่จับ แต่การวิ่งเล่นของเด็กนั้นกลับช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้พัฒนาอย่างเต็ม ที่การเล่นรูปแบบต่างๆของเด็กไม่เพียงจะเสริมสร้างการ พัฒนาทางร่างกายเท่านั้น ทว่าการเล่นยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจอีกด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่จะหยิบยื่นโอกาสให้เด็กได้เล่นตามวัยของเขาหรือ ไม่ ก็คือผู้ใหญ่นั่นเอง  “ใจ” เล่น ปัญญา” แล่น


Science in traditional toysของเล่นภูมิปัญญา ประวัติของเล่น (History of toy) เราไม่อาจทราบได้ว่าของเล่นยุคดึกดำบรรพ์แบบแรกๆคืออะไรและใครเป็นผู้คิดทำขึ้น ประวัติความเป็นมาที่พอจะทราบได้ก็ได้จากอารยธรรมที่หลงเหลืออยู่ของชาวอียิปโบราณ
1.ลูกบอลและลูกข่างอียิปต์โบราณมีอายุราว 1250 ปี ก่อนคริสศักราช 2.ตุ๊ดตาเสือจากเมืองทีฟอายุประมาณ 1000 ปีก่อนคริสศักกาล ตาทำด้วยแก้ว ปากทำด้วยสำริด ปากปิด-เปิดได้ 3.ภาพเขียนจีนของตอนต้นในศตวรรษที่ 19 แสดงให้เห็นการเล่นว่าวที่เป็นทั้งของเล่นเด็กและการพักผ่อนในยามว่างของผู้ใหญ่ 4. หมีเทดดี้แบร์ตัวแรก สูงประมาณ 7 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.1907 5. ตุ๊กตา ลูกบอลและตัวหมากที่มีอายุระหว่าง 1250 - 1000 ปีก่อนคริสกาล 6.รถม้าทำด้วยดินเคลือบจากกรีซ อายุประมาณ 500 ปีคริสกาล 7.ภาพจากต้นฉบับภาษาเยอรมันปี ค.ศ. 1405 แสดงให้เห็นชายหนุ่มกำลังเล่นว่าบนหลังม้า ของเล่นกับเด็กไทย ( Thai Toys) ของเล่นของไทยเป็นร้อยปีมีของเล่นหลายชนิด เช่น รูปสัตว์ต่างๆที่ทพจากหินและดินเปาเคลือบน้ำเคลือบเป็นของเล่นในสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยามีของเล่นดินเผาที่ไม่มีการเคลือบมีรูปร่างสัตว์ต่างๆและรูปเด็กหญิงชายกำลังอุ้มไก่เล่นต่อมาในสมัยรัชกาลที่5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ของเล่นสำหรับเด็กไทยมีความหลากหลายในวัสดุและรูปแบบของการเล่น เช่น ตัวตลกเป็นดินเผาดิบๆดำๆมีแกนตรงหัวเมื่อตุ๊กตาโดนเขย่าหัวจะสั่นไปมา เล่นเพื่อการเรียนรู้ (Learning Through Play) ของเล่นคือ ของที่มีไว้ใช้ในการเล่นเพื่อความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน ของเล่นมีประโยชน์ทำให้เกิดจินตนาการ ฝึกสมอง ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และ กระตุ้นพัฒนาการต่างๆของร่างกาย เล่นแล้วได้อะไร?(Building Skills with toys) การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการในทุกๆด้าน ซึ่งทำให้เด็กมีพัฒนาการของชีวิตได้แก่ 1. ด้านร่างกาย การเล่นเป็นการออกกำลังกายแบบหนึ่ง ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนากล้ามเนื้อ 2. ด้านจิตใจและอารมณ์ การเล่นทำให้เกิดจินตนาการ รู้จักคิดและแก้ปัญหาเกิดความคิดสร้างสรรค์ความสนุกสนานและผ่อนคลาย 3.ด้านสังคม การเล่นกับผู้อื่น จะทำให้เด็กเกิกการเรียนรู้กับผู้คนรอบข้าง รู้จักการแพ้ รู้จักการชนะ รู้จักแบ่งปัน ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักปรับตัวในสังคม 4. ด้านภาษา เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่นมความสามารถด้านภาษาและการสื่อสารจะถูกพัฒนา 5.ด้านการเรียนรู้ การเล่นแต่ละแบบจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในทักษะที่แตกต่างกันไปของเล่นบางอย่างฝึกความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในทางกลับกันบางอย่างอาจฝึกในเรื่องของภาษา

ภาพบรรยากาศกิจกรรมในงาน

































Recorded Diary 14,17/11/2015

Recorded Diary 14,17/11/2015

  

ปฏิบัติตามแผนการสอน Cooking



Knowledge 
ข้าวจี่






อุปกรณ์( Equipment )




  • ข้าวเหนียว (rice)
  • ไข่ไก่ (egg)
  • ไก่หยอง 
  • ซอสปรุงรส 
  • ไม้เสียบข้าวจี่ 
  • ถ้วย ( Cup )
  • จาน ( Stove )


  • ขั้นตอนการทำ
    นำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนแล้วนำไม้มาเสียบจากนั้นก็เอาไปปิ้งจนข้าวเริ่มเปลี่ยนสีแล้วถึงจะนำไปทาไข่แล้วนำมาปิ้งต่อจนเหลือง สามารถใส่หมูหยองเป็นไส้ตั้งแต่ขั้นตอนการปั่นเลยก็ได้คะ



    หวานเย็น





    อุปกรณ์( Equipment )
    - น้ำหวาน , น้ำอัดลม 
    - น้ำแข็ง
    - เกลือเม็ดใหญ่
    - กะละมังพลาสติก
    - กะละมังสแตนเลต
    - ไม้พาย

    ขั้นตอนการทำ
    นำน้ำแข็งใส่ลงไปในกะละมังพลาสติกแล้วเอาเกลือใส่โรยไปให้ทั่วจากนั้นนำกะละมังสแตนเลตตั้งตรงกลางแล้วกดกะละมังสแตนเลตให้ก้นกะละมังฝังลงไปในน้ำแข็งจากนั้นก็เติมนำ้หวานใส่ไปในกะละมังสแตนเลตแล้วใช้ไม้พายคนไปเลื่อยๆจนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

    เกล็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ >> ที่น้ำหวานเปลี่ยนสถานะเป็นเกล็ดน้ำแข็งได้เพราะการที่นำเกลือไปใส่ในน้ำแข็งทำให้น้ำแข็งจากที่เย็นอยู่แล้วจะยิ่งเย็นมากขึ้นเกิดจากการถ่ายเทความร้อนของน้ำแข็งไปให้เกลือเพื่อใช้ในการละลาย ทำให้น้ำแข็งที่อยู่ในกะละมังมีอุณภูมิ 0 องศา แค่นี้เราก็สามารถทำหวานเย็นได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งตู้เย็นเลยละค่ะ

    ขนมโค






    อุปกรณ์( Equipment )
    1. แป้งข้าวเหนียว
    2. น้ำเปล่า
    3. น้ำตาลแว่น หรือไส้
    4. มะพร้าวทึกขูด 
    5. หม้อต้ม
    6. สีผสมอาหาร

    ขั้นตอนการทำ
    นำแป้งมาใส่สีผสมอาหารแล้วนวดให้เข้ากันเมื่อปแป้งเข้าที่แล้วให้แบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ ปั้นให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นก้กอดให้แบนๆ เพื่อที่จะใส่ไส้ตรงกลางแล้วก็ทำให้แป้งห่อไส้ปั่นให้เป็นกลมๆอีกครั้งจึงน้ำไปต้มในน้ำที่เดือด ถ้าแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำให้ตักขึ้นมาคลุกกับมะพร้าวขูดได้เลย




    Skill (ทักษะ) :

    กระบวนการสอนทางวิทยาศาสตร์

    การตั้งคำถาม

    การสังเกต
    การสาธิตและลงมือปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน


    Adoption (การนำไปใช้) :

    ใช้เป็นแนวทางในการมอบประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย



    Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน):

    มีคำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตัวเอง และอธิบายอย่างชัดเจน


    Evaluation  (การประเมิน) :
    ตัวเอง ตั้งใจทำกิจกรรมเตรียมอุปกรณ์ที่ได้รับมอบหมายมาพร้อม
    เพื่อน  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
    อาจารย์ ติดธุระทางสาขา การเเต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนทำCooking มีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อมเเละเพียงพอขณะที่ทำกิจกรรมด้วย วันนี้นักศึกษาและอาจารย์รู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรม

    ห้องเรียน พร้อมสำหรบการทำกิจกรรม




    Recorded Diary 13,10/11/2015

    Recorded Diary 13,10/11/2015




    Cooking ทาโกยากิ วาฟเฟิล





    ทาโกยากิ


    อุปกรณ์ ( Equipment )

    -  ไขไก่ ( Egg )
    -  ข้าวจ้าวหุงสุก
    -   ต้นหอม
    -   ปูอัด
    -   เนย ( Butter )
    -   ถ้วย ( Cup ) 
    -   จาน ( Stove )


    -   ช้อน ( Spoon )
    - เครื่องทำทาโกยากิ

    วิธีทำ
    1.ตักข้าวสวยใส่ถ้วย 3 ช้อนโต๊ะ
    2.ตักไข่ที่ต๊อกไว้ให้ 1 ทัพพี
    3.หันหอมและปูอัด ใส่ปริมาณที่พอดี
    4.น้ำไปตักใส่หลุมจนเหลืองหอมสุก
    5.ตกแต่งให้สวยงาม
    วาฟเฟิล


    อุปกรณ์ ( Equipment )

    -   แป้ง ( Flour ) 
    -   เนย ( Butter )
    -   นม ( mike )
    -   ไข่ไก่ ( Egg )
    -   น้ำ ( Water )
    -   ถ้วย ( Cup )
    -   จาน ( Stove )
    -   ช้อน ( Spoon )
    -   ที่ตีไข่ ( Whisk )
    -   เครื่องทำวาฟเฟิล (plate)

    ขั้นตอนการทำ 
    1. นำแป้ง ไข่ไก่ น้ำใส่ลงไปในถ้วย ตีส่วนผสมให้เข้ากัน
    2. ใส่นมจืดแล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
    3. เมื่อตีวัตถุดิบเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก
    4. ทาเนยที่เตาแล้วหยอดวัตถุดิบในถ้วยลงไป 
    5. เมื่ออบจนได้ที่แล้วจึงนำมารับประทาน พร้อมตกแต่งให้สวยงาม




    **Apply**
    -เพื่อนำความรู้จากการทำ Cooking ไปจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้

    **The atmosphere in the classroom**
           บรรยากาศภายในห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์และสื่อไม่ชำรุด
    เพื่อนๆในห้องมีส่วนร่วมในการเรียนในการตอบคำถามแสดงความคิดเห็นทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น


    **Self-Assessment**
             เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

    **Rating friends**
           เพื่อนในชั้นเรียนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการตอบคำถามและระดมความคิดช่วยกัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องน่ารียน

    **Instructor Rating**
             อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง ฝึกการสังเกต ทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และสรุปผลหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม